เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 นิทานวัตถุ
สุนทรีนันทาไปไหน ขอรับ” เมื่อนายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตากล่าว
อย่างนั้น ภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีสุนทรีนันทาได้กล่าวกับนายสาฬหะหลาน
ของนางวิสาขามิคารมาตาดังนี้ว่า “ท่าน ภิกษุณีสุนทรีนันทาเป็นไข้ ดิฉันจักรับ
บิณฑบาตไปถวาย”
ลำดับนั้น นายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตาคิดว่า “การที่เรา
เตรียมอาหารถวายภิกษุณีสงฆ์ ก็เพราะแม่เจ้าสุนทรีนันทา” จึงสั่งให้เลี้ยงดูภิกษุณี
สงฆ์แล้วเข้าไปทางสำนักภิกษุณี
สมัยนั้นแล ภิกษุณีสุนทรีนันทายืนคอยนายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคาร
มาตาอยู่นอกซุ้มประตูวัด พอเห็นเขาเดินมาแต่ไกลจึงหลบเข้าที่อยู่นอนคลุมโปงอยู่
บนเตียง
ลำดับนั้น นายสาฬหะเข้าไปหาภิกษุณีสุนทรีนันทาถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว ถาม
ภิกษุณีสุนทรีนันทาดังนี้ว่า “ท่านไม่สบายหรือ ทำไมจึงนอนอยู่ ขอรับ”
ภิกษุณีสุนทรีนันทากล่าวว่า “นาย สตรีผู้ปรารถนาคนที่ไม่ปรารถนาตอบ
ก็มีอาการเช่นนี้แหละ”
เขากล่าวว่า “แม่เจ้า ทำไม กระผมจะไม่ปรารถนาท่าน แต่หาโอกาสที่จะ
ทำมิดีมิร้ายท่านไม่ได้” มีความกำหนัด ถูกต้องกายภิกษุณีสุนทรีนันทาซึ่งมีความ
กำหนัด
คราวนั้น ภิกษุณีชรามีเท้าเจ็บรูปหนึ่งนอนอยู่ไม่ไกลจากที่ของภิกษุณีสุนทรีนันทา
นั้น เห็นนายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตาผู้กำหนัดกำลังถูกต้องกาย
กับภิกษุณีสุนทรีนันทาผู้กำหนัด จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้า
สุนทรีนันทาผู้กำหนัดจึงยินดีการถูกต้องกายกับชายผู้กำหนัดเล่า” บอกเรื่องนั้นแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง
ใฝ่การศึกษา พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าสุนทรีนันทาผู้
กำหนัดจึงยินดีการถูกต้องกายกับชายผู้กำหนัดเล่า” จากนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นจึงนำ
เรื่องไปบอกภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :3 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 นิทานวัตถุ
ระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา ก็ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าสุนทรี
นันทาผู้กำหนัดจึงยินดีการถูกต้องกายกับชายผู้กำหนัดเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิ
ภิกษุณีสุนทรีนันทาโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีสุนทรีนันทากำหนัด
ยินดีการถูกต้องกายกับชายผู้กำหนัดจริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
ของภิกษุณีสุนทรีนันทาไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุณีสุนทรีนันทาผู้กำหนัดจึงยินดีการถูกต้องกายกับชาย
ผู้กำหนัดเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริงกลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใส
ก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป”
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุณีสุนทรีนันทาโดยประการต่าง ๆ แล้ว
ได้ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก มักมาก ไม่สันโดษ ความคลุกคลี
ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย สันโดษ
ความขัดเกลา ความกำจัดกิเลส อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความ
เพียรโดยประการต่าง ๆ ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายให้เหมาะสมให้คล้อย
ตามกับเรื่องนั้น แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะ
บัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ
1. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
2. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
3. เพื่อข่มภิกษุณีผู้เก้อยาก
4. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุณีผู้มีศีลดีงาม
5. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :4 }